วันอาทิตย์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ประวัติความเป็นมาคอมพิวเตอร์กราฟิก
จากอดีตสู่ปัจจุบัน คอมพิวเตอร์กราฟิกได้ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ทั้งทางด้านการสร้างสรรค์และการออกแบบด้วยซอฟต์แวร์ต่างๆ พร้อมกับมีการแสดงผลที่ตอบสนองต่อผู้ใช้เป็นอย่างดี ซึ่งสามารถแยกประวัติความเป็นมาได้ดังนี้
1. การปฎิวัติคอมพิวเตอร์กราฟิก เป็นการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีซึ่งเปลี่ยนแปลงความเป็นอยู่ของมนุษย์โดยสิ้นเชิง เกิดจากการปฏิวัติที่สำคัญของโลก ได้แก่ การปฏิวัติเกษตรกรรม การปฏิวัติอุตสาหกรรม การปฏิวัติคอมพิวเตอร์ โดยมีการพัฒนาอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้มนุษย์มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีการใช้เครื่องจักรแทนพลังงานคนและสัตว์ จนมีการพัฒนาหลอดสูญญากาศ ทรานซิสเตอร์ แผนวงจรรวม และตัวซิลิกอนชิป ตามลำดับ มาใช้แทนกำลังสมองของมนุษย์
2. คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องแรกมีชื่อว่า อินิแอก เป็นเครื่องจักรคำนวณหาความแม่นยำในการหาเป้าหมายหัวกระสุนปืนใหญ่ ต่อมาพัฒนาเป็น อีแวก และถูกพัฒนาเป็น ยูนิแวก ใช้สำหรับงานด้านธุรกิจมีความสามารถเก็บข้อมูลไว้ในดรัมแม่เหล็ก จนในช่วงเวลาเดียวกัน บริษัทไอบีเอ็ม ได้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่น 701/702 ในเชิงอุตสาหกรรม แต่การแสดงผลยังเน้นลักษณะของอักขระและตัวเลขมาก จึงทำให้ต้องจำกัดเฉพาะสำหรับผู้เชี่ยวชาญคอมพิวเตอร์เท่านั้น
3. การวิจัยพัฒนาคอมพิวเตอร์กราฟิก เริ่มมีการพัฒนาระบบต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ช่วยในการตรวจจับและเตือนภัยทางอากาศ ที่เด่นคือ ระบบแซจ เนื่องจากข้อมูลที่แซจรายงานผ่านจอภาพช่วยให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์ครั้งแรก จนกลายเป็นพื้นฐานของการพัฒนาระบบประสานกับผู้ใช้กราฟิก หรือ กุย (GUI) ทำให้คอมพิวเตอร์ช่วยการออกแบบ (CAD) ได้ถูกพัฒนาขึ้นใช้สำหรับการผลิตและออกแบบในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงแต่ไม่เป็นที่นิยม แต่ต่อมา CAD เริ่มมีใช้ทั่วไป เนื่องจากมีการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม และมีการพัฒนาภาษาคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่สามารถนำไปใช้ร่วมกันหลายระบบจนถึงพีซี ทำให้ต้นทุนลดลงและมีซอฟต์แวร์อเนกประสงค์ ได้แก่ AutoCAD เทคโนโลยีการผลิตชิป เป็นปัจจัยสำคัญส่วนหนึ่งที่ทำให้จอภาพบิตแมป มีการแพร่หลายและเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์กราฟิก โดยมีคุณสมบัติคือ การแสดงผลบนจอภาพมีสีสันและคมชัด ให้การเคลื่อนไหวอย่างเป็นธรรมชาติ จึงเป็นองค์ประกอบที่ช่วยในการใช้งานได้ง่ายขึ้น
4. ส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ บริษัทซีรอกซ์ได้เสนอเครื่องคอมพิวเตอร์ อัลโต ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ระดับสถานีงานและได้นำเทคโนโลยีการแสดงผลแรสเตอร์บิตแมปมาใช้เป็นเครื่องแรก ได้นำไปพัฒนาระบบ LAN เชื่อมต่อเพื่อแลกเปลี่ยนและใช้ทรัพยากรระบบที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า นอกจากนี้การแสดงผลบนภาพจอจะเหมือนกับสิ่งที่พิมพ์ออกมา หรือที่เรียกว่า ได้อย่างที่เห็น (WYSIWYG - วิซิวิก) เป็นสิ่งที่นำไปสู่วิธีการใช้งานคอมพิวเตอร์กราฟิกในปัจจุบัน คือ เมาส์ ปากกาแสง แป้นกำหนดหน้าที่ ช่วยให้ลดช่องว่างระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์อย่างมาก และมีการทำงานเรียกว่า เดสทอป ซึ่งมีสัญรูป เชื่อมโยงต่อกันในการใช้งานทำให้สามารถใช้งานซอฟแวร์ได้หลายตัวพร้อมๆ กัน
5. การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์กราฟิก ได้พัฒนาคอมพิวเตอร์เป็น จอภาพสวมศรีษะ (เอชเอ็มดี) ที่ผู้ใช้สามารถรับข้อมูลได้เสมือนจริงที่สุด มีการสร้างภาพแสดงผลสีเอกรงค์ซึ่งแสดงผลความแตกต่างของเฉดสี ต่อมามีการนำเสนอเทคนิคพิเศษของแสงในธรรมชาติมาใช้กับการสร้างภาพกราฟิกสามมิติที่สมจริง และได้มีการนำมาใช้ในการสร้างภาพยนตร์คอมพิวเตอร์กราฟิกกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งมีการนำเทคนิคพิเศษมาช่วยให้เกิดการตอบสนองและความตื่นตาตื่นใจต่อผู้ชม
6. อนาคตคอมพิวเตอร์กราฟิก เป็นการพัฒนาโดยภาพรวมของการนำไปใช้ประโยชน์กับผู้ใช้ โดยมีการนำคอมพิวเตอร์กราฟิกไปทำงานได้ 2 ระบบ คือ 1.ระบบสื่อประสม การนำสื่อหลายอย่างๆ มาเชื่อมโยงต่อกันในการใช้งาน ซึ่งมีหัวใจหลักคือ การแปลงข้อมูลแอนะล็อกเป็นดิจิทัล คือทั้งภาพและเสียงเป็นดิจิทัล ต่อมามีการพัฒนาสื่อต่างๆให้มีการทำงานเร็วขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการพื้นฐานในอนาคต 2.ระบบความเป็นจริงเสมือน การใช้คอมพิวเตอร์สร้างสิ่งแวดล้อมใหม่เพื่อให้ผู้ใช้มีความรู้สึกเหมือนเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์นั้นจริง
ความเข้าใจเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิก
1. บิต ไบต์ และเวิร์ด จำนวนชุดข้อมูลที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถประมวลผลออกมาได้ โดยที่ บิต เป็นควอนตัมหรือชิ้นของส่วนข่าวสารที่เสมือนกับสวิตซ์ขนาดเล็กที่ควบคุมการเปิดปิดของกระแสไฟฟ้าซึ่งทำให้เกิดรูปแบบของรหัสขึ้นมาเป็นบวกหรือลบ ดำหรือขาว มืดหรือสว่าง ศูนย์และหนึ่ง ไบต์ เป็นการนำบิตซึ่งเป็นข้อมูลเปิดและปิดแทนสัญลักษณ์ด้วย 0 กับ 1 และเวิร์ด หรือคำ เป็นจำนวนบิตที่คอมพิวเตอร์อ่านได้ในแต่ละครั้ง และสามารถประมวลจำนวนบิตที่แตกต่างกันไป จึงนิยมเรียกชุดข้อมูลออกเป็น กิโลไบต์ เมกะไบต์ และกิกะไบต์
2. ข้อมูลและโครงสร้างข้อมูล ข้อมูลแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือตัวเลข และรหัส ซึ่งทั้ง 2 ประเภทนี้มีการจัดเก็บ จัดระบบโดยอาศัยการทำงานของโปรแกรม ที่บรรจุขั้นตอนการทำงานไว้อย่างชัดเจนตามที่ได้วางแผนไว้ ทั้งนี้การใช้งานคอมพิวเตอร์กราฟิกส่วนใหญ่มักเป็นการดำเนินงานของโปรแกรม โครงสร้างข้อมูล ข้อมูลที่ถูกนำมาจัดการให้มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นเป็นรูปแบบระเบียน ตารางเมตริกซ์ และการลำดับชั้น โดยคอมพิวเตอร์จะทำงานเป็น 2 วิธี คือ อ่าน (Read) และเขียน (Write)
3. มิติและระบบพิกัดในกราฟิก เริ่มจาก จุด เส้น ระนาบ รูปทรงปริมาตรและจตุภาคซึ่งเป็นแกน x และแกน y ซึ่งทำให้เกิดการหมุนเวียน (Rotation) และทำให้ระบุตำแหน่งการเคลื่อนที่ของวัตถุได้อย่างแม่นยำ ระบบพิกัดเชิงขั้น วงกลม สองมิติ ระบบพิกัดทรงกลม รูปทรงสามมิติ บุริมภาพ ประกอบด้วยสีแดง เขียว น้ำเงิน และความโปร่งใส ใช้ได้ดีกับภาพบิตแมปที่มีความลึกตั้งแต่ 8 บิตขึ้นไป ชั้นภาพ เกิดจากผลของบุริมภาพที่ซ้อนภาพบิตแมปไว้ การสร้างทัศนีย-ภาพ วิธีการสร้างภาพลวงตาสามมิติให้ปรากฎบนระนาบ 2 มิติ การสร้างขึ้นใหม่ การเปลี่ยนภาพสองมิติให้เป็นสามมิติ
4. ความต่อเนื่องและความไม่ต่อเนื่อง ความต่อเนื่อง ได้จากการวัด ขนาดมิติ ช่องว่างเวลาและสิ่งแวดล้อม ความไม่ต่อเนื่อง เป็นลักษณะของข้อมูลที่มีความเป็นเอกลักษณ์ในตัวของมันเอง พิกเซล เป็นหน่วยเล็กที่สุดของภาพกราฟิกที่เกิดขึ้นในระบบข้อมูลไม่ต่อเนื่อง ซึ่งมีความคมชัดเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ส่งผลถึงความละเอียดในภาพดิจิทัล ความเข้มเป็นหลักการให้พิกเซลเก็บจำนวนบิตได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังมี เวกเตอร์ ความชัน เวกเตอร์กราฟิก โพลีกอน ขอบ จุดยอด และวอกเซล ที่เป็นเส้นกำหนดตำแหน่งความไม่ต่อเนื่องของภาพกราฟิก
5. รูปทรงวัตถุ โพลีฮีดรอน คือรูปทรงหลายหน้าในลักษณะรูปทรงต่างๆ หน้า คือผิวแต่ละด้านของโพลีฮีดรอน เซล ส่วนที่แสดงถึงข้อมูลของความลึกและเป็นกระบวนการเก็บข้อมูลสามมิติ ให้อยู่ในรูประนาบบิต 2 มิติ
6. แอนะล็อก และดิจิทัล แอนะล๊อก เป็นการสื่อข้อมูลจากสัญญาณอันต่อเนื่องและเป็นเครื่องบันทึกการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ ดิจิทัล เป็นการบันทึกสัญญาณลงสื่อบันทึกด้วยตัวเลข ดังนั้นในการแปลงข้อมูลแอนะล็อกเป็นดิจิทัลเป็นการแปลงข้อมูลที่มีปริมาณและความต่อเนื่องให้เป็นตัวเลข ส่วนการแปลงดิจิทัลเป็นแอนะล็อกเป็นการแปลงลักษณะเชิงตัวเลขให้เป็นลักษณะรูปคลื่นที่ต่อเนื่อง
7. การสูญข้อมูล การสูญเสียข่าวสารข้อมูลที่ไม่อาจนำมาเข้ากับเกณฑ์วัดได้ ในคอมพิวเตอร์กราฟิกการสูญเสียข้อมูลเกิดขึ้นได้ทั้งในลักษณะเชิงกาลเวลา และเชิงมิติ การสูญข้อมูลเชิงกาลเวลา เป็นการสูญเสียข้อมูลในขณะที่เวลากำลังดำเนินอยู่ เช่น ภาพเคลื่อนไหวที่ออกมาไม่ชัดเจน การสูญข้อมูลเชิงมิติ เป็นการสูญเสียข้อมูลเนื่องจากข้อมูลมีขนาดใหญ่กว่าพื้นที่นำมารองรับข้อมูลนั้น ในคอมพิวเตอร์กราฟิกผลของการสูญข้อมูลจะปรากฏให้เห็นเป็นรอยหยัก ตามบริเวณขอบที่เป็นแนวทแยง หรือเส้นโครงได้อย่างชัดเจน
องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์กราฟิก
1. ฮาร์ดแวร์ : องค์ประกอบพื้นฐาน ฮาร์ดแวร์ เป็นองค์ประกอบทางกายภาพของระบบคอมพิวเตอร์ รวมไปถึงอุปกรณ์ที่อยู่รอบข้างสำหรับใช้รับข้อมูลโดยมีหลักการและองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญอยู่ 5 ส่วน คือ
1.1 บัส เป็นสายไฟต่อเชื่อมสัญญาณไฟฟ้าระหว่างส่วนประกอบต่างๆ ภายในคอมพิวเตอร์ให้ถึงกัน ซึ่งมีการออกแบบไว้บนแผงวงจรหลัก จึงเปรียบเสมือนกับทางด่วนข้อมูลที่เชื่อมชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่อยู่ภายในคอมพิวเตอร์ให้ติดต่อกันได้
1.2 สัญญาณนาฬิกา ในคอมพิวเตอร์เวลาถือเป็นข้อมูลไม่ต่อเนื่องและถูกควบคุมด้วยระบบนาฬิกา ซึ่งเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ผลิตความถี่ของสัญญาณนาฬิกา โดยจะถูกส่งไปยังซีพียู แล้วจะมีการส่งต่อข้อมูลไปยังตัวเรจิสเตอร์ที่บรรจุในซีพียู
1.3 ซีพียู เป็นสถานที่รวมของแผงสวิตซ์จำนวนมาก ที่มีหน้าที่เปิดและปิดวงจรไฟฟ้า โดยจะมีการตรวจสอบสถานะคำส่งที่จะกระทำการได้ แล้วจึงส่งคำสั่งไปยังแอแอลยูเพื่อกระทำการตามคำสั่งนั้น ก่อนจะส่งไปยังเรจิสเตอร์
1.4 หน่วยความจำ เป็นองค์ประกอบของฮาร์ดแวร์ที่สามารถเก็บข้อมูล ข่าวสาร ในรูปของเลขฐานสอง ซึ่งมีหลายชนิด ได้แก่ หน่วยความจำหลัก ข้อมูลจะถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำของอุปกรณ์รอบข้างในระยะหนึ่งก่อน จากนั้นจึงส่งต่อไปยังหน่วยความจำหลัก ซึ่งแบ่งเป็น แรม หน่วยความจำที่สามารถอ่านและเขียนได้ รอม หน่วยความจำที่อ่านได้เพียงอย่างเดียวแก้ไขไม่ได้ หน่วยความจำอุปกรณ์รอบข้าง เป็นความจำที่ไม่ขึ้นตรงต่อซีพียูทางระบบบัสผ่านทางพอร์ต ซึ่งปัจจุบันความจำส่วนนี้ถูกพัฒนาให้เก็บไว้ในสื่อประเภท แถบเทปแม่เหล็กและจานแม่เหล็ก นอกจากนี้ยังมีความจำเสมือน เป็นที่เก็บข้อมูลส่วนที่เหลือแล้วสามารถนำไปใช้ได้เช่นเดียวกับแรม ออปติคัลดิสก์ เป็นการนำเทคโนโลยีเลเซอร์มาใช้เป็นตัวกลางในการอ่านข้อมูลที่บันทึกอยู่บนจาน วอร์มดิสก์ ส่วนออปติคัลดิสก์ที่สามารถนำมาบันทึกข้อมูลได้ เฟรมบัฟเฟอร์ เป็นหน่วยความจำรอบข้างที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการแสดงผลภาพบิตแมป ดีแอลเอ็ม เป็นความจำพิเศษที่ออกแบบให้เก็บจำนวนตัวเลข พอร์ต เป็นแผงวงจรไฟฟ้าเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์รอบข้างตัวอื่นๆ หลายตัว ที่มีลักษณะการทำงานที่แตกต่างกันในเวลาเดียวกัน จึงทำให้ต้องมีตัวต่อประสานแต่ละชนิดติดตั้งเข้ากับแผงวงจรหลัก
1.5 โมเด็ม เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยส่งข้อมูลดิจิทัลจากคอมพิวเตอร์
2. ซอฟต์แวร์ : โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งบรรจุคำสั่งและขั้นตอนวิธีที่ทำให้ฮาร์ดแวร์ทำงานได้ ซึ่งรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์และเอกสารประกอบการใช้ และผลิตภัณฑ์สื่อที่ใช้ร่วมกับอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ทั้งหลาย และยังหมายถึงตัวรหัสของขั้นตอน คำสั่งต่างๆ ที่เจาะจงการดำเนินงานที่เป็นตรรกะอย่างชัดเจน โปรแกรมอรรถประโยชน์ มีขอบข่ายการทำงานที่จำกัดลงและเกี่ยวข้องกับการทำงานขั้นพื้นฐาน ที่กำหนดโดยระบบปฏิบัติการ โปรแกรมประยุกต์ เป็นโปรแกรมที่มีความจำเพาะหรือใช้งานเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะด้าน
3. ภาษาโปรแกรม : เครื่องมือติดต่อกับฮาร์ดแวร์ ภาษาโปรแกรมเป็นเครื่องมือที่ใช้สื่อสารระหว่างมนุษย์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ สำหรับควบคุมลักษณะโครงสร้าง เนื้อหาและข้อความสั่งของภาษาโปรแกรมนั้นๆ ภาษาเครื่อง เป็นตัวประสานระหว่างฮาร์ดแวร์กับซอฟต์แวร์ ภาษาแอสเซมบลี เป็นภาษาระดับที่สองที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ ภาษาระดับสูง เป็นภาษาระดับที่สาม ซึ่งสร้างขึ้นจากภาษาแอสเซมบลี ภาษาระดับสูงมาก เป็นภาษาระดับที่สี่ที่สร้างขึ้นมาจากภาษาระดับสูงอีกทีหนึ่ง ภาษาธรรมชาติ เป็นภาษาที่จัดว่ามีความคล้ายคลึงกับภาษาของมนุษย์มาก โปรแกรมแปลโปรแกรม เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับการแปลโปรแกรมที่เขียนขึ้นจากภาษาระดับสูงมาก โปรแกรมแปลคำสั่ง เป็นโปรแกรมที่จะอ่านทุกคำสั่งที่มีในโปรแกรมระดับสูง
4. การประมวลผลข้อมูลแบบกระจาย เป็นการเชื่อมต่อเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์เข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่กว่า ซึ่งเป็นการผสมผสานแบบเกี่ยวดองกันของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครื่อข่ายเดียวกัน
5. ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์อื่นๆ เข้าด้วยกันจึงเป็นการสื่อสารจากผู้ใช้รายหนึ่งไปสู่ผู้ใช้อีกรายหนึ่งซึ่งช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้สามารถติดต่อถึงกันได้ โดยเครื่องบริการทำหน้าที่เป็นผู้รับฝากและจัดส่งข้อมูลถึงผู้ใช้รายอื่นๆ ได้
คอมพิวเตอร์กราฟฟิก เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งของ วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการผสมผสานการเปลี่ยแปลงรูปแบบสื่อดิจิตอลเพื่อการมองเห็น แม้ว่าความเกี่ยวข้องของคอมพิวเตอร์กราฟฟิกกับกระบวนการสร้างภาพต่างๆจะเกี่ยวโยงกันจนหลายคนเข้าใจว่าเป็นอย่างเดียวกันโดยมีรูปแบบลักษณะการออกแบบรูปแบบ 2 มิติ 3 มิติ แต่หลายครั้งที่เราพบว่าคอมพิวเตอร์กราฟฟิกก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการมองเห็นเลยความหมายคอมพิวเตอร์กราฟิก เรียกย่อ ๆ ว่า ซีจี (CG) คือ การประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์โดยข้อมูลเข้าเป็นข้อมูลตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญญานต่าง ๆ โดยการสร้างแบบจำลอง (modeling) ตามด้วย การสร้างเป็นภาพสุดท้ายหรือ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าการให้แสงและเงา (rendering) แสดงผลลัพธ์ทางจอภาพเป็นข้อมูลเชิงเรขาคณิต เช่น รูปทรง สีสัน ลวดลาย หรือ ลักษณะแสงเงา รวมถึง ข้อมูลอื่น ๆ ของภาพ เช่น ข้อมูลการเคลื่อนไหว การเปลี่ยนแปลง ลักษณะการเชื่อมต่อ และ ความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุหรือสิ่งของในภาพ รวมไปถึงการศึกษาด้านระบบในการแสดงภาพ ทั้งสถาปัตยกรรมของเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์เชื่อมต่อ หรือ อุปกรณ์ในการนำเข้า และ แสดงผล ปัจจุบันมีการประยุกต์ เรขภาพคอมพิวเตอร์ใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีอื่น ๆ เช่น การสร้างภาพเคลื่อนไหวในงานภาพยนตร์ เกม สื่อประสมภาพและเสียง ศึกษาบันเทิง หรือ ระบบสร้างภาพความจริงเสมือน เป็นต้น
ดูการเขีนการ์ตูน
คลิกที่นี่
คอมพิวเตอร์กราฟิก
ระยะช่วงสมัยที่เรียกว่าเป็นยุคดิจิตัล (Digital) เครื่องมืออุปกรณ์อีเลกทรอนิกส์สมัยใหม่ คือ คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก คอมพิวเตอร์ที่นำเข้ามาในการเรียนการสอนวิชาศิลปะจะเป็นคอมพิวเตอร์กราฟิก ซึ่งเหมาะสมกับการใช้งานในการสร้างงานศิลปกรรม คอมพิวเตอร์กราฟิก หมายถึง การเขียนภาพ หรือสร้างภาพโดยใช้คอมพิวเตอร์กราฟิก เป็นข้อมูลที่แสดงในรูปของ เส้นกราฟ แผนภาพ แผนภูมิ รูปภาพ ซึ่งเป็นที่นิยมใช้ในปัจจุบันเนื่องจากมีความสะดวกรวดเร็วในการนำเสนอ และแก้ไขงานได้ทันที บุคลากรทุกหน่วยงานไม่ว่าเป็นภาครัฐหรือภาคเอกชน นิยมใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกในงานศิลปกรรมเป็นส่วนมาก ทำให้การพัฒนางานด้านคอมพิวเตอร์กราฟิกเติบโตอย่างรวดเร็ว จนปัจจุบันมีการพัฒนาไปสู่
ภาพเคลื่อนไหว(Animation) ใช้ในธุรกิจโฆษณาและวงการภาพยนตร์อย่างแพร่หลาย คอมพิวเตอร์กราฟิกเริ่มมีมาตั้งแต่ ค.ศ.1940 โดยรูปภาพที่ได้เกิดจากการนำเอาตัวอักษรมาประกอบกันเป็นรูปภาพ ต่อมา ปี ค.ศ. 1950 สถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสซานซูเซตส์ (MIT) ได้คิดพัฒนาหลอดภาพ CRT (Cathode Ray Tube) ขึ้นใช้เป็นส่วนแสดงผลแทนเครื่องพิมพ์ เนื่องจากต้องการให้มีความรวดเร็วมากขึ้น ในขณะที่กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกาใช้ระบบ SAGE แปลงสัญญาu3603 .จากเรดาร์ให้เป็นภาพบนจอคอมพิวเตอร์ และเป็นครั้งแรกที่ใช้ปากกาแสง ต่อมาในปี ค.ศ.1963 อีวาน ซูเธอร์แลนด์ (Ivan Sutherland). ได้ทำปริญญานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต ใช้ปากกาแสงกำหนดจุดบนจอภาพแทนระบบการวาดเส้น และเชื่อมโยงจุดต่างๆกลายเป็นโครงสร้างภาพรูปหลายเหลี่ยมเป็นพื้นฐานการออกแบบระบบงาน การออกแบบระบบไฟฟ้า และการออกแบบเครื่องจักร
ในปี ค.ศ. 1968 บริษัทเทคโทรนิกซ์ (Tectronix) ได้ผลิตจอภาพแบบใหม่ขึ้น และมีราคาถูกลงกว่าเดิมมาก จากราคาเดิมราคาเครื่องละ 100,000 ดอลลาร์ ในขณะที่เครื่องแบบใหม่ราคา15,000 ดอลลาร์ ในปีค.ศ.1970 คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์มีราคาถูกลงมาก ทำให้คอมพิวเตอร์กราฟิกแพร่หลายอย่างรวดเร็ว ซอฟต์แวร์ทางด้านกราฟิกมีการพัฒนาควบคู่มากับฮาร์ดแวร์อย่างต่อเนื่อง ควบคู่กันมาจากการเริ่มต้นปริญญานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิตของ อีวาน ซูเธอร์แลนด์(Ivan Sutherland) มีการพัฒนาซอฟต์แวร์ควบคู่กับฮาร์ดแวร์มาอย่างต่อเนื่อง สตีเฟน คูนส์ (Steven Coons) และ ปิแอร์ เบเซอร์ (Pieere Bazier) ได้พัฒนาซอฟต์แวร์สร้างการเขียนเส้นโค้ง และพื้นผิวภาพ ทำให้สามารถสร้างภาพ 3 มิติได้สมจริง ในปัจจุบันได้พัฒนาการเขียนรูปได้เหมือนจริงมากขึ้นและทำให้ภาพเคลื่อนไหวเหมือนจริง ซึ่งนำไปใช้ประโยชน์ได้มาก เช่น ในด้านการค้า การอุตสาหกรรม การศึกษา การฝึกอบรม การจำลองสถานการณ์ การนำเสนอภาพทัศนียภาพในการออกแบบงานสถาปัตยกรรม หรืองานออกแบบตกแต่งภายใน โปรแกรมพื้นฐานที่นักออกแบบทุกคนจะต้องเรียนรู้ในการสร้างงานกราฟิกมี 2 ชนิด คือ โปรแกรมประเภทวาดภาพ และโปรแกรมประเภทตกแต่งภาพ(ธนิศา ไชยภูธิพัฒน์. 2545. หน้า 16)
โปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟิก 2 มิติ (2D Graphic) มีมากมายในท้องตลาดคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถแบ่งโปรแกรมออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. โปรแกรมการวาดเขียน (Paint and Draw Program)
2. โปรแกรมการออกแบบ (Design Program)
3. โปรแกรมแผนภูมิและกราฟ (Chart/Graph)
โปรแกรมที่นิยมใช้มีอยู่มากมายหลายโปรแกรม ซึ่งต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับงานที่ใช้ว่าควรใช้โปรแกรมใด ในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปแต่ละโปรแกรมผู้ใช้จะต้องฝึกทักษะ ให้มีความชำนาญ และมีความรู้ทางเทคนิคในโปรแกรมที่ใช้ โปรแกรมที่นิยมใช้อยู่ขณะนี้ เช่น
โปรแกรม Visio เป็นโปรแกรมเขียนแบบ ที่เป็นลักษณะสองมิติ เป็นภาพลายเส้นซึ่งจำลองจากการทำงานจากโต๊ะเขียนแบบ
โปรแกรม Microsoft Word เป็นโปรแกรมที่ใช้กับงานเอกสารที่u3648 .ป็นข้อความ หรือสิ่งพิมพ์ โปรแกรม Harvard Graphic เป็นโปรแกรมงานนำเสนอ งานบริหาร และงานวิศวกร
โปรแกรม Adobe Freehand เป็นโปรแกรมที่เหมาะกับงานศิลปกรรม สร้างภาพ ตัวอักษร กราฟ งานสิ่งพิมพ์ โฆษณา นามบัตร
โปรแกรม Adobe PageMaker เป็นโปรแกรมที่ใช้กับงานจัดหน้ากระดาษ โดยนำข้อความ และรูปภาพมาจัดหน้ากระดาษ เหมาะสำหรับการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์
โปรแกรม Adobe Photoshop เป็นโปรแกรมที่ใช้งานแต่งภาพ
โปรแกรม Adobe Illustrator เป็นโปรแกรมที่ใช้งานออกแบบกราฟิก
โปรแกรม Adobe Graphic Studio เป็นโปรแกรมที่ใช้งานออกแบบกราฟิก
โปรแกรม Adobe PageMill เป็นโปรแกรมที่ใช้งานออกแบบจัดแต่งภาพเคลื่อนไหว
ภาพนิ่ง ตัวอักษร ภาพเคลื่อนไหว เชื่อมโยงกับอินเทอร์เน็ต
โปรแกรม Authorware เป็นโปรแกรมที่ใช้สร้างบทเรียนช่วยสอนและนำเสนองาน
โปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟิก 3 มิติ (3D Graphic) เป็นโปรแกรมใช้งานออกแบบงาน
3 มิติ มีอยู่มากมายหลายแบบและหลายบริษัท เช่น Silicon Graphics ผลิตโปรแกรมให้กับ Windows NT ส่วนมากจะเป็นโปรแกรมที่ต้องการ Graphics Display card คุณภาพสูง จำนวน Display RAM ตั้งแต่ 8 MB และต้องเป็นการ์ดที่ใช้ OpenGL ได้ด้วย ในปัจจุบันมีโปรแกรม 3D Studio MAX ที่ไม่ต้องมี Open GL โปรแกรมออกแบบงาน 3 มิติ มีให้เลือกใช้อยู่หลายโปรแกรมเช่น 3D Studio MAX / Maya / Bryce / Carara / Livewave / Poser / Cinema 4D
โปรแกรม 3D Studio MAX เป็นโปรแกรมที่นิยมมาก มีการใช้อย่างแพร่หลาย และจำนวนผู้ใช้เพิ่มมากขึ้นทุกวัน เพราะเป็นโปรแกรมที่ไม่ต้องการความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์สูงมาก มีคำสั่งมากมายและใช้งานได้ไม่ยาก สามารถทำภาพ 3 มิติและภาพเคลื่อนไหวที่มีคุณภาพดี และผู้เล่นยังสามารถสร้างโปรแกรมเสริมประเภท Plug – in ให้กับโปรแกรม 3D Studio MAX เป็นจำนวนมาก ในขณะที่โปรแกรม 3 มิติอื่น ๆ มีจำนวน Plug – in ค่อนข้างจำกัด
โปรแกรม Visio 2003 / AutoCAD 2006 / CADian / Autodesk Viz / 3D Visualization
/ Walk in / Sketch up เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้ในการเขียนแบบสามารถทำงานได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูง สามารถ สร้าง แก้ไข และเรียกดูข้อมูลได้ โปรแกรมสำเร็จรูป AutoCAD 2006 เป็นที่นิยม ใช้ในการเขียนแบบ สำหรับเขียนแบบ 2 มิติ ที่ทางบริษัท Autodesk ได้พัฒนาโปรแกรมขึ้น จาก AutoCAD 2000 เป็นโปรแกรม AutoCAD 2005 และเป็นโปรแกรม AutoCAD 20006 เครื่องมือต่าง ๆ ที่มีอยู่ใน โปรแกรม AutoCAD 2006 ได้ถูกพัฒนาให้ใช้งานได้อย่างคล่องตัวตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานได้ดีกว่าเดิมโดยมีประสิทธิภาพและความยืดหยุ่นในการใช้งานที่สะดวกมากขึ้น (สัญญา นามี และศุภชัย นิศวอนุตรพัรธ์. 2548. หน้า 4)
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับงานนำเสนอและงานภาพยนตร์ ได้แก่ u3650 .ปรแกรมสำเร็จรูป Microsoft PowerPoint / Macromedia Flash / Macromedia Director / Adobe Premiere Autoware / Swish / Window Movie Maker / Ulead
การออกแบบตกแต่งภายใน นักออกแบบสามารถใช้เทคนิคการออกแบบ และการนำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์ชนิดพกพาต่อเจ้าของบ้านได้ ซึ่งสะดวกมีความรวดเร็วและสามารถบันทึกแก้ไขงานนำเสนอในช่วงระหว่างนำเสนอผลงานการออกแบบตกแต่งภายใน โปรแกรมสำเร็จรูปที่นิยมนำมาช่วยในงานออกแบบตกแต่งมีอยู่หลายโปรแกรมในขณะนี้ เช่น โปรแกรม 3D Studio MAX / Adobe Illustrator / AutoCAD
ขั้นตอนในการนำเสนอ
ในการออกแบบงานต่าง ๆ มีวัตถุประสงค์ที่แน่ชัดว่าต้องการทำอะไร เมื่อมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนแล้วจะต้องมีการเก็บข้อมูลเพื่อเป็นพื้นฐานความคิดในงานออกแบบ นำข้อมูลมาวิเคราะห์หารูปแบบลักษณะที่จะตอบสนองให้ได้ตามวัตถุประสงค์ ผลของการวิเคราะห์จะได้งานออกแบบมาหลายรูปแบบเพื่อเป็นทางเลือก ขั้นต่อมาพิจารณาเลือกแบบที่ต้องตามวัตถุประสงค์มากที่สุดมาหนึ่งแบบ ขั้นต่อไปเมื่อได้งานตามความต้องการ แล้วจึงนำไปสร้างงานจริง จากข้อกล่าวทั้งหมดอาจจะกำหนดขั้นตอนการออกแบบตกแต่งภายในและนำเสนอได้เป็น 3 ขั้นตอน คือ
1. ขั้นตอนก่อนออกแบบ (Pre Design)
2. ขั้นตอนออกแบบ (Design)
3. ขั้นตอนหลังออกแบบ (Post Design)
ขั้นตอนก่อนออกแบบ เป็นระยะแรกที่ผู้ออกแบบจะต้องพบกับผู้ว่าจ้างเพื่อเจรจาหาความพึงพอใจและความต้องการของผู้ว่าจ้าง ตลอดจนเก็บข้อมูลต่าง ๆ เป็นการเก็บข้อมูลโดยตรงรวมถึงสภาพแวดล้อม เช่น ข้อมูลเบื้องต้นเจ้าของบ้าน ข้อมูลสมาชิกในครอบครัว สถานที่ตั้งของบ้านอยู่ในตำแหน่งใดและมีลักษณะสภาพแวดล้อมเป็นอย่างไร เทคนิคในการเก็บข้อมูลขึ้นกับสถานการณ์จะเป็นการกรอกแบบสอบถาม หรือการสัมภาษณ์ แต่การจรจาในช่วงเวลานี้จะต้องหาความต้องการที่แน่ชัดเพื่อตั้งเป็นวัตถุประสงค์ในการออกแบบ เมื่อได้รายละเอียดเพียงพอแล้วจึงดำเนินงานระยะต่อไป
ขั้นตอนออกแบบ เมื่อผู้ออกแบบได้ข้อมูลรายละเอียดเพียงพอครบตามต้องการแล้ว จึงนำข้อมูลมาวิเคราะห์ เพื่อร่างแบบให้ตรงตามวัตถุประสงค์ความต้องการของเจ้าของบ้าน โดยการร่างแบบต่าง ๆ มากกว่าหนึ่งแบบเพื่อเป็นทางเลือกให้เจ้าของบ้าน เมื่อร่างแบบเสร็จเรียบร้อยแล้วนำแบบไปให้เจ้าของบ้านตรวจพิจารณาเลือก โดยให้ระยะเวลาการตรวจแบบระยะเวลาประมาณหนึ่งสัปดาห์เพื่อที่เจ้าของบ้านและสมาชิกใน
10
ครอบครัวจะได้มีเวลาปรึกษาตรวจพิจารณา ผู้ออกแบบกลับมารอระยะเวลาu3605 .่อไป ครบกำหนดระยะเวลาที่เจ้าของบ้านตรวจพิจารณาแบบ ผู้ออกแบบกลับไปเจรจาหาความชัดเจนในเรื่องแบบ นำแบบกลับมาแก้ไขสนองตอบตามความพึงพอใจและต้องการของเจ้าของบ้าน นำแบบกลับไปให้เจ้าของบ้านผู้ว่าจ้างตรวจพิจารณาแบบว่าถูกต้องตามความพึงพอใจและความต้องการตามวัตถุประสงค์ พร้อมกับลงนามรับรองแบบ เมื่อลงนามรับรองแบบเรียบร้อยจึงดำเนินการระยะต่อไป
ขั้นตอนหลังออกแบบ ผู้ออกแบบติดต่อผู้รับเหมา เตรียมวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ถ้ามีสิ่งใดที่ต้องขออนุญาตตามเทศบัญญัติ ให้ดำเนินการขออนุญาตให้ถูกต้องตามระเบียบเทศบัญญัติก่อนการดำเนินการก่อสร้างตกแต่ง ช่วงระยะเวลาการก่อสร้างตกแต่งผู้ออกแบบจะต้องเข้าตรวจสอบเป็นระยะเพื่อตรวจสอบความถูกต้องและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการก่อสร้าง และรายงานเจ้าของบ้านเป็นระยะ ๆ พร้อมกับลงนามรับทราบ เมื่องานเสร็จเรียบร้อยผู้ออกแบบต้องเชิญเจ้าของบ้านเข้าตรวจดูความเรียบร้อยพร้อมรับคำติชมแก้ไข เมื่องานเรียบร้อยถูกต้องให้เจ้าของบ้านผู้ว่าจ้างลงนามรับมอบงาน
งานทุกประเภทมีขั้นตอนในการดำเนินงานตั้งแต่ระยะเริ่มงาน ระยะปฏิบัติงาน ระยะ หลังงาน งานออกแบบตกแต่งภายในก็เช่นเดียวกันมีขั้นตอนเช่นเดียวกัน รายละเอียดในงานมีดังกล่าวข้างต้น หวังว่าคงเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานด้านออกแบบตกแต่ง
ภายในต่อ
ไป

1 Comment:

  1. Bowvee said...
    5555+

Post a Comment